soppong

แหล่งท่องเที่ยวถ้ำผีแมน

 ถ้ำผีแมน

1

วัฒนธรรมการฝังศพในยุคดั้งเดิมเมื่อราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เราอาจเคยได้ยินถึงการฝังศพครั้งที่ 2  ด้วยการบรรจุกระดูกใส่ในภาชนะดินเผาหรือแคปซูล ในวัฒนธรรมที่โดดเด่นของแถบอีสานของไทย โดยเฉพาะเขตทุ่งกุลาร้องไห้

ในอีกส่วนหนึ่งของดินแดนไทย บนเขตพื้นที่สูงทางภาคเหนือ ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็มีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ในเรื่องของวัฒนธรรมการฝังศพ ที่เรียกว่า “วัฒนธรรมโลงไม้”

โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของ รองศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำทีมสำรวจพื้นที่บริเวณ อ. ปางมะผ้า และขุดค้นแหล่งโบราณคดีเพิงผาบ้านไร่ และเพิงผาถ้ำลอดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำผีแมนได้ผลการวิจัยที่แสดงถึงการอยู่อาศัยต่อเนื่องของชุมชนแถบนี้ ตั้งแต่เมื่อ 30,000 กว่าปีมาแล้ว จนถึงเมื่อราว 2,500 ปีมาแล้วที่มีการใช้ถ้ำ และเพิงผาในการประกอบพิธีกรรมฝังศพ โดยใช้ที่นี่เป็นเสมือนสุสาน ที่พบกระจายตัวตามลุ่มน้ำลาง ลุ่มน้ำของ ลุ่มน้ำละนา และลุ่มน้ำกึ๊ดสามสิบ

ในบริเวณที่เป็นเพิงผา หรือถ้ำ ในเขต จ.แม่ฮ่องสอนดังกล่าวเป็นแหล่งที่พบร่องรอยหลักฐานวัฒนธรรมของผู้คนยุคโบราณที่ทำพิธีกรรมความตาย ซึ่ง สินีนาฏ วรรณศรี ผู้ช่วยนักวิจัยด้านวงปีไม้และละอองเรณู ของโครงการฯ ได้กำหนดอายุของกลุ่มวัฒนธรรมโลงไม้ไว้ในช่วงราว 2,600 – 1,100 ปีมาแล้ว37_201212270951151. 37_201212270951152.

ลักษณะทั่วไปของโลงไม้ที่พบ ทำจากท่อนซุงผ่าครึ่งตามยาว ขุดเนื้อไม้ด้านในออก โลงไม้จะประกบกันเป็นคู่
โลงชิ้นบนทำหน้าที่เป็นฝาปิดประกบ ตัวโลงมักวางพาดบนคานไม้ที่มีเสาไม้รองรับ มีของอุทิศฝังร่วมกับผู้ตาย หัวโลงได้รับการแกะเป็นรูปทรงต่างๆ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มอายุตามรูปแบบ โดยหัวโลงที่แกะเป็นแท่งไม้สองแท่ง มีอายุเก่าสุดในกลุ่ม

แม้ว่าโครงกระดูกที่พบมักกระจายอยู่ตามพื้นดินใต้โลงไม้  ที่อาจเกิดจากการรบกวนของชาวบ้านที่เข้าถึงแหล่งมาก่อนแล้ว ทำให้ทีมวิจัยยังไม่สามารถบอกได้ว่ากระดูกเหล่านี้เคยอยู่ในสภาพอย่างไร แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 โดยปลงศพแล้วนำกระดูกใส่ในโลงไม้ไว้ในถ้ำ เพราะไม่พบร่องรอยดีเอ็นดีของคราบน้ำเหลืองที่มาจากการฝังครั้งแรก เช่นเดียวกับโลงไม้ที่พบในภาคอื่นๆ เช่น จังหวัดกาญจนบุรี ที่นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เคยเสนอไว้

โลงไม้เหล่านี้ส่วนมากทำจากไม้สัก บางชิ้นมีขนาดถึงราว 8 เมตร นอกจากอาจบอกถึงพัฒนาการของโลงรุ่นแรกๆแล้ว ยังแสดงถึงฐานะทางสังคมของผู้ตาย ในระดับหัวหน้าชุมชนหรือหมอผี ร่วมกับตำแหน่งที่วางและของอุทิศที่ใส่ร่วมด้วย

37_201212270949142.นอกจากนี้ บางโลงที่มีขนาดใหญ่ยังพบโครงกระดูกหลายคนต่อหนึ่งโลง จึงเป็นได้ว่าโลงขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ใช้สำหรับผู้ตายเพียงคนเดียว แต่อุทิศให้เป็นสุสานประจำตระกูล ส่วนการตั้งวางโลงเกือบทั้งหมดที่พบบนคานไม้ที่ตั้งขึ้นบนเสา หรือ การวางโลงไม้บนคานพาดหลืบหิน ให้โลงมีลักษณะตั้งขึ้นนั้น มีการสันนิษฐานว่าอาจเพื่อให้ผู้ตายอยู่ใกล้กับเบื้องบนที่สุดหัวโลงที่ได้รับการแกะสลักเป็นแบบต่างๆกันตั้งแต่รูปทรงเรขาคณิต ไปจนถึงรูปสัตว์ เป็นสื่อสัญลักษณ์ที่นอกจากอาจจะบอกถึงกลุ่มร่วมของรูปแบบหัวโลงเดียวกันหรือสายตระกูลเดียวกันเดียวแล้ว ยังอาจเป็นส่วนที่สะท้อนถึงบทบาทความเชื่อของสิ่งที่คนในกลุ่มสังคมนั้นๆเชื่อถือ อาจสันนิษฐานได้จากหัวโลงกลุ่มรูปสัตว์ที่น่าจะสัมพันธ์กับสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันในกลุ่มทั้งเรื่องความอุดมสมบูรณ์และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการนำพาวิญญาณไปสู่อีกโลกหนึ่ง

นอกจากในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว วัฒนธรรมโลงไม้ ยังพบในจังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณลุ่มแม่น้ำแควน้อย แควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ที่น่าจะมีความเชื่อมโยงถึงกันตามแนวเทือกเขาหินปูนด้านตะวันตกที่ต่อเนื่องจากเหนือลงมาและวัฒนธรรมโลงไม้ยังอาจเป็นวัฒนธรรมที่มีการติดต่อกับกลุ่มคนภายนอก โดยได้รับรูปแบบการฝังศพโดยเฉพาะจากทางเหนือ หรือจากยูนานในประเทศจีนก็เป็นได้

อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ชาวบ้านมักเรียกถ้ำที่พบโรงศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ว่า ถ้ำผีแมน ซึ่งพบถึง 74 แห่ง ใน อ. ปางมะผ้า แต่ถ้ำผีแมนแห่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด โดยไม่ต้องมีคนนำทาง เพราะมีการติดตั้งไฟฟ้าภายในถ้ำให้ชมได้อย่างสะดวก

ความน่าสนใจ เมื่อคุณเข้าไปในถ้ำ คุณจะได้เจอเรื่องราวของชีวิตหลังความตายที่น่ากลัวเพราะในถ้ำแห่งนี้ คุณจะได้เห็นโลงศพมนุษย์โบราณ ที่คุณไม่สามารถพบได้จากที่ไหนในเมืองไทย

 การเดินทาง : ทางขึ้นถ้ำอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1095 ระหว่างหลัก กม. 144-145 ห่างจาก รพ.ปางมะผ้า ไปทางตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ประมาณ 600 ม. ด้านขวามือมีป้ายเล็กๆ บอกทางไปถ้ำแต่เห็นไปไม่ชัดเจน นอกจากนี้ถนนค่อนข้างแคบใกล้ทางโค้งและไม่มีไหล่ทาง การจอดรถจึงค่อนข้างยาก ควรจอดรถที่ รพ.ปางมะผ้า และเดินไปจะปอลดภัยกว่า เดินขึ้นเนินไปอีกประมาณ 300 ม. ก็จะถึงถ้ำ

20140412_0003

37_201212270949141.

37_20121227095122.

37_20121227095115.